สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

ระดับปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (โครงสร้าง / เทคนิคธรณี / ทรัพยากรน้ำ / ขนส่ง)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา เป็นหลักสูตร 2 ปี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยเน้นการสร้างและพัฒนานักวิชาชีพและนักวิจัยด้านวิศวกรรมโยธาที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ คณาจารย์มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับและมีบทบาทสำคัญในวงการวิศวกรรมโยธาของประเทศ โดย ได้รับการจัดอันดับทางด้านผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เช่น จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยในระดับดีหรือดีเยี่ยม นักศึกษามีโอกาสได้รับทุนการศึกษา และ/หรือทุนวิจัยสนับสนุน ในระหว่างการศึกษา การเรียนการสอนจะประกอบด้วย เรียนในเวลาราชการ โดยผสมผสานการเรียน 2 รูปแบบ คือ การเรียนในห้องเรียนและการทำงานวิจัยในรูปแบบของวิทยานิพนธ์ มีสาขาวิชาเอก ดังนี้

  1. วิศวกรรมโครงสร้าง
  2. วิศวกรรมเทคนิคธรณี
  3. วิศวกรรมขนส่ง
  4. วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ

เน้นการสร้างและพัฒนานักวิชาชีพและนักวิจัยด้านวิศวกรรมโยธาที่มีความรู้ความชำนาญและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ  เพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูง มีความสำคัญในการแก้ปัญหาของประเทศ เพิ่มคุณภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต และเป็นผลให้เศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่งและมีการพัฒนาที่ยั่งยืน 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • เพื่อผลิตวิศวกรและนักวิชาการระดับปริญญาโท ในสาขาวิศวกรรมโยธาที่มีความรู้ความสามารถในงานวิจัยและวิชาชีพระดับสูง ในสาขาวิศวกรรมโยธาขึ้นภายในประเทศ และให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับต่างประเทศ
  • เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการผ่านโปรแกรมการศึกษาด้วยโครงการวิจัยที่ดี มีทิศทางที่ชัดเจนและต่อเนื่อง และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการ กับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ โดยผ่านงานวิจัยและพัฒนา

โอกาสของผู้สำเร็จการศึกษา

ประกอบอาชีพวิศวกรโยธา ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นผู้บริหารโครงการด้านวิศวกรรมโยธาสาขาต่างๆ เป็นนักวิชาการด้านวิศวกรรมโยธา นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมโยธา นักวิจัยหรืออาจารย์ด้านวิศวกรรมโยธา

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา

  • ต้องเป็นผู้ที่ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา หรือเทียบเท่า 

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  • ผ่านการคัดเลือกโดยการสอบสัมภาษณ์ และ / หรือ สอบข้อเขียน หรือ
  • คณะกรรมการสอบคัดเลือกซึ่งเป็นคณาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาโท พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษาได้

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธาเป็นหลักสูตร 2 ปี มีจํานวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต นักศึกษาต้องศึกษางานรายวิชาไม่น้อยกว่า 26 หน่วยกิต และต้องทําวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต โดยแบ่งสาขาวิชาเอกออกเป็น 4 สาขา คือ สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง สาขาวิศวกรรมเทคนิคธรณี สาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ และสาขาวิศวกรรมขนส่ง โดยมีโครงสร้างหลักสูตรดังนี้

หมายเหตุ

  • ในหมวดวิชาเลือกสาขาอื่นๆ ให้เลือกเรียนวิชาในสาขาวิชาเอก นอกสาขาวิชาเอก นอกคณะหรือต่างมหาลัยก็ได้ แต่ทั้งนี้นักศึกษาต้องเลือกเรียนวิชาเลือกนอกสาขาวิชาเอกอย่างน้อย 3 หน่วยกิต
  • วิชาเลือกสาขาอื่น ๆ นอกคณะหรือต่างมหาวิทยาลัย ต้องเป็นวิชาในระดับ และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัย ฯ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  • นักศึกษาต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกําหนดสําหรับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

ขั้นตอนการศึกษา

  • ภาควิชาจะกําหนดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปี เพื่อให้คําปรึกษาและแนะนํานักศึกษาเกี่ยวกับการลงทะเบียนรายวิชา จากนั้นนักศึกษาจะทําการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (Advisor) อีกครั้ง โดยอาจารย์ที่ปรึกษาจะคอยให้คําแนะนํา และเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด และวิธีการศึกษาวิจัย และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในงานวิทยานิพนธ์ รวมถึงวางแนวคิดในการเขียนวิทยานิพนธ์และประเมินการทําวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา นอกจากนี้นักศึกษาจะลงทะเบียนเพื่อทําวิทยานิพนธ์ได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ก่อนทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  • นักศึกษาสามารถลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ เมื่อเป็นนักศึกษาแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา และได้ลงทะเบียนรายวิชาและสอบผ่านแล้วไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 00 นักศึกษาสามารถแบ่งจํานวนหน่วยกิตในการลงทะเบียนทําวิทยานิพนธ์ได้ตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ในกรณีอื่น ๆ การลงทะเบียนวิทยานิพนธ์อยู่ในดุลพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
  • การสอบวิทยานิพนธ์ ทําได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ ให้ทําการสอบวิทยานิพนธ์ได้
  • นักศึกษาต้องศึกษาได้ครบหน่วยกิตและรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร และมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 00 พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย และมีผลงานเผยแพร่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งไม่ใช่รูปเล่มที่เป็นวิทยานิพนธ์
  • ระเบียบและข้อกําหนดอื่นๆ สําหรับการศึกษาระดับบัณฑิต