สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา

ระดับปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา (วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมนอกฝั่ง วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา เป็นหลักสูตรบูรณาการที่ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม โดยเน้นวิชาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม พัฒนาให้ผู้เรียนเป็น “Professional Engineering(PE)” เรียนนอกเวลาราชการ โดยมีการเรียนการสอนในวันเสาร์-อาทิตย์ นอกจากนี้ยังสามารถทบทวนบทเรียนเพิ่มเติมจากสื่อวิดีโอบันทึกการสอน การศึกษาในหลักสูตรจะจัดวิชาตามหัวข้อการใช้งานในภาคปฏิบัติและเน้นในวิชาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในโครงการต่างๆ รายวิชาครอบคลุมเนื้อหาทั้งในส่วนโครงสร้าง เทคนิคธรณี บริหารการก่อสร้าง วิศวกรรมนอกฝั่ง การขนส่งและโลจิสติกส์ ฯลฯ สามารถเลือกวิชาการค้นคว้าอิสระ ( 6 หน่วยกิต ) หรือวิทยานิพนธ์เชิงลึก ( 12 หน่วยกิต ) ขึ้นกับความต้องการของแต่ละบุคคล โดยมีทีมคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน ร่วมกับทีมคณาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในด้านงานค้นคว้าวิจัย ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่ทันสมัยและสากลจากงานวิจัย ในขณะเดียวกันสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในภาคปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรนี้สามารถเลือกศึกษาได้ 3 สาขาวิชาเอก คือ

  1. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเป็นวิศวกรมืออาชีพในสายงานอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคารและโครงสร้างพื้นฐาน

  1. สาขาวิชาวิศวกรรมนอกฝั่ง (Offshore Engineering)

สาขาวิชาวิศวกรรมนอกฝั่งเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจในงานออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างนอกฝั่ง ได้แก่  แท่นขุดเจาะ แท่นผลิต ระบบท่อส่งและท่อลำเลียงน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติใต้ทะเล เทคโนโลยีการสำรวจและการขุดเจาะ รวมถึงการบริหารจัดการโครงสร้างนอกฝั่ง

  1. สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation Engineering and Logistics)

สาขาวิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาถึงการวิเคราะห์ การออกแบบและการดำเนินงาน ตลอดจนการจัดการระบบขนส่งและระบบโลจิสติกส์ การจัดการระบบโครงข่ายจราจร รวมถึงงานด้านความปลอดภัยทางถนน และนโยบายการจราจรและขนส่ง

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านสาขาวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม หรือสาขาอื่นๆ ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

โอกาสของผู้สำเร็จการศึกษา

ประกอบอาชีพ วิศวกรโยธา วิศวกรนอกฝั่ง วิศวกรขนส่งและโลจิสติกส์ ในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เป็นผู้จัดการโครงการด้านวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมนอกฝั่ง วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ นักวิชาการด้านวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมนอกฝั่ง วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ นักออกแบบด้านวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมนอกฝั่ง วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ หรือเป็นเจ้าของโครงการหรือเจ้าของกิจการในสายงานวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมนอกฝั่ง วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์

โครงสร้างหลักสูตรและแผนการศึกษา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิศวกรรมเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา มีระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร 2 ปีการศึกษา ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตรอย่างน้อย 1 ปี และอย่างมากไม่เกิน 5 ปีการศึกษา นับจากวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่นักศึกษาขึ้นทะเบียนเรียน แบ่งเป็น 2 แผน คือ แผน ก และแผน ข โดยแผน ก เป็นแผนการศึกษาที่นักศึกษาต้องทำวิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ส่วนแผน ข นักศึกษาต้องทำโครงการเฉพาะเรื่อง 6 หน่วยกิต

  • แผนการศึกษา แผน ก แบบ ก2 (ทำวิทยานิพนธ์)

แผนการศึกษานี้ มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 37 หน่วยกิต นักศึกษาต้อง ศึกษาเรียนรายวิชาไม่น้อยกว่า 25 หน่วยกิต และต้องทำวิทยานิพนธ์ซึ่งมีค่าเทียบเท่าไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต โดยมีโครงสร้างหลักสูตรดังนี้

ประเภทวิชา

จำนวนหน่วยกิต

หมวดวิชาบังคับ

4

หมวดวิชาเลือสาขาวิชาเอก

15

หมวดวิชาเลือก

6

วิทยานิพนธ์

12

จำนวนหน่วยกิจรวมตลอดหลักสูตร

37

  • แผนการศึกษา แผน ข (การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต)

แผนการศึกษานี้ มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 37 หน่วยกิต นักศึกษาต้องศึกษาเรียนรายวิชาไม่น้อยกว่า 31 หน่วยกิต และไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่ให้ทำโครงการวิจัยเฉพาะเรื่องซึ่งมีค่าเทียบเท่าไม่น้อยกว่า 3-6 หน่วยกิต โดยมีโครงสร้างหลักสูตรดังนี้

ประเภทวิชา

จำนวนหน่วยกิต

หมวดวิชาบังคับ

4

หมวดวิชาเลือสาขาวิชาเอก

15

หมวดวิชาเลือก

12

การศึกษาโครงการวิจัยเฉพาะเรื่อง

6

จำนวนหน่วยกิจรวมตลอดหลักสูตร

37

หมายเหตุ

การศึกษาในแผน ก 2 และ ข จะต้องมีวิชาเลือกในสาขาวิชาเอกไม่ต่ำกว่า 15 หน่วยกิต และต้องมีหน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 37 หน่วยกิต

การจัดการเรียนการสอน

ภาคการศึกษาที่ 1: อยู่ในช่วง เดือนสิงหาคม – ธันวาคม

ภาคการศึกษาที่ 2: อยู่ในช่วง เดือนมกราคม – พฤษภาคม

การเรียนการสอนจะจัดนอกเวลาราชการ:

วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.

โครงสร้างหลักสูตร