Browsing: ความสำเร็จ

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ.ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาวิศวกรรมโยธา ชั้นปีที่ 4 ได้รับ “ทุนต้นกล้าโซโนม่า” มูลค่า ทุนละ 50,000 บาท จำนวน 2 ทุน ประจำปีการศึกษา 2561 ต่อเนื่องจนจบการศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้แก่ นายภูวฤทธิ ชัยสงครามและนางสาวสิริมน สิมาธรรมชัย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561
Read More

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2561 ศ.ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวต้อนรับ คณะสื่อสัญจร “การจัดทำฐานข้อมูลทางวิศวกรรมของโบราณสถาน” เพื่อรายงานความก้าวหน้าผลการวิจัยด้านการอนุรักษ์โบราณสถานและการจัดทำฐานข้อมูลทางวิศวกรรมภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตลอดจนการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถาน จัดโดย สกว.ร่วมกับ มจธ. ภายในงานมี นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประทีป เพ็งตะโก รองอธิบดีกรมศิลปากร และ ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. แถลงความร่วมมือในการสนับสนุนโครงการวิจัย และการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย โดยมีคณะวิจัยราย งานผลการวิจัยด้านการอนุรักษ์โบราณสถานและการจัดทำฐานข้อมูลทางวิศวกรรมภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สกว. ประกอบด้วย รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าชุดโครงการ “อนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานตามหลักวิศวกรรม” รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. หัวหน้าโครงการ “การพัฒนาฐานข้อมูลทางวิศวกรรมเพื่อการประเมินและติดตามสภาพโครงสร้างโบราณสถานของไทย” ผศ.ดร.ชัยณรงค์ อธิสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. นักวิจัยร่วมโครงการฯ และนายเสน่ห์ มหาผล หัวหน้ากลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พร้อมพาสื่อมวลชนชมห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างปูนในแต่ละช่วงอายุ การทดสอบก้อนตัวอย่างแบบไม่ทำลาย ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ.
Read More

อาจารย์ ดร. จุลพจน์ จิรวัชรเดช อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอน เล่าถึงบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้การศึกษาของประเทศไทยเปลี่ยนไปจากในอดีต ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีวิธีการทำงานของคนก็เปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่มีอยู่ การสอนในอดีตอาจารย์ต้องเน้นให้วิศวกรมีความแม่นยำในเนื้อหา การคำนวณ เพื่อให้แก้ปัญหาได้ทันทีหน้าไซต์งานเพราะการแก้ปัญหาหน้างานหากต้องค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมทำได้ยาก แต่ปัจจุบันเมื่อต้องการข้อมูลสามารถเข้าอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ การหาข้อมูลรวดเร็ว การต้องจดจำตำราเรียนอาจจะไม่จำเป็นมาก ต้องเป็นการเรียนการสอนเน้นการแก้ไขโจทย์จริง ต้องปรับเปลี่ยนและมีสมรรถะที่เหมาะกับความต้องการของสังคม อุตสาหกรรม ประเทศ นักศึกษาของ มจธ. มีศักยภาพที่ซ่อนอยู่สูง จุดเริ่มต้นในการเรียนรู้อยู่ที่นักศึกษา อาจารย์ผู้สอนมีหน้าที่ดึงศักยภาพออกมา เพื่อให้เกิดสมรรถนะ ทักษะ และความสามารถ รูปแบบการสอนใช้วิธีบันทึกการบรรยายทฤษฎีเป็นวีดิโอให้นักศึกษาได้ศึกษาข้อมูลก่อนเข้าเรียนเป็นสื่อที่เหมาะกับนักศึกษาในปัจจุบัน นักศึกษาจะได้ทำโจทย์ที่ซับซ้อนช่วยกันทำงานเป็นกลุ่มในห้องเรียน เพื่อให้ทุกคนได้ออกความเห็น อาจารย์คอยแก้ไขและให้คำแนะนำ นักศึกษาทุกคนได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน บางคนอาจจะเรียนรู้ได้เร็ว ช้า แตกต่างกัน ฝึกการทำงานร่วมกัน พัฒนาทักษะการคิด การเป็นผู้นำ อาจารย์ทำหน้าที่เป็นโค้ชฝึกสมรรถนะ เพื่อให้นักศึกษาเข้าถึงข้อมูลประเมินความน่าเชื่อถือของเนื้อหา ลงมือปฏิบัติได้จริง ทำให้เกิด Lifelong learning เกิดขึ้นเองอัตโนมัติ เช่น การออกแบบสะพานเพื่อข้ามระยะ 3 เมตร โดยสะพานต้องปลอดภัยแข็งแรง นักศึกษาได้ออกแบบ วางแผนขั้นตอนการทำงาน การเงิน คน การนำเสนองาน และการเขียนรายงานเป็นเล่ม การทำงานลักษณะนี้นักศึกษาจะได้ฝึกทักษะด้านอื่นด้วย ซึ่งสามารถปรับกิจกรรมเพื่อเสริมสมรรถนะด้านอื่นได้โดยใช้เนื้อหาเป็นแกนกลางในการฝึกฝนสมรรถนะด้านที่ต้องการ การเรียนในห้องเรียนแบบกลุ่ม การออกแบบสะพานข้ามระยะ 3 เมตร
Read More