Browsing: ข่าวสาร

 อิฐทุกก้อนของโบราณสถาน ล้วนมีคุณสมบัติไม่เหมือนกับวัสดุที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน นอกจากการบูรณะซ่อมแซมให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม ยังต้องแม่นยำตามหลักศิลปศาสตร์และประวัติศาสตร์ด้วย นี่จึงเป็นภารกิจสำคัญที่เราควรมี “ฐานข้อมูลดิจิทัล” ที่รวบรวมโครงสร้างโบราณสถานไทย เพื่อการอนุรักษ์และต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมใหม่จากมรดกของเรา ยิ่งศึกษาเรื่องโบราณมากแค่ไหน เราต้องยิ่งไฮเทคมากขึ้นเท่านั้น โครงการพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ รศ.ดร.ชัยณรงค์ อธิสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Read More

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้จัดการเรียนการสอนรายวิชา CVE 473 วิศวกรรมจราจร (Traffic Engineering) ให้แก่นักศึกษาในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2563 โดยมี ผศ. ดร.วศิน เกียรติโกมล เป็นอาจารย์ผู้สอน ซึ่งตามแผนการสอนของรายวิชาฯ มีกำหนดจัดบรรยายพิเศษหัวข้อเรื่อง “New Business Initiative for Engineering Students” โดยได้รับเกียรติจาก คุณปรีดา ปัญจมะวัต (Business Growth & People Development Consultant, Owner) จากบริษัท บิสซิเนส ลิงค์ แมเนจเมนท์ จำกัด ในวันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2564 เวลา 10:30 น. - 12:30 น.ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meetings (การเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์) เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้
Read More

ธรรมชาติของสิ่งปลูกสร้าง อาคารบ้านเรือน หรือแม้กระทั่งโบราณสถานเก่าแก่ เมื่อกาลเวลาผ่านไปย่อมมีความชำรุดทรุดโทรมลง หากไม่ได้รับการซ่อมบำรุงที่เหมาะสมอาจจะทำให้เกิดความเสียหายตามมา ในประเทศไทยนั้นมีโบราณสถานที่เป็นปูชนียสถาน ที่มีความสวยงามและทรงคุณค่า ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อคนรุ่นหลังอยู่มากมาย เช่นเดียวกับ "ปาสาณเจดีย์" พระเจดีย์ประกบหินอ่อน ของวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามโบราณราชประเพณี เมื่อปีพุทธศักราช 2407 และเป็นวัดประจำรัชกาล ปาสาณเจดีย์นั้น เป็นพระเจดีย์มีอายุกว่า 100 ปีแล้ว เป็นที่แน่นอนว่าอาจจะต้องมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์บางส่วนในอนาคต เนื่องจากความเก่าแก่ของพระเจดีย์ผนวกกับมีการตรวจพบว่าพื้นที่บริเวณวัดเริ่มมีการทรุดตัว แต่การที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ได้นั้นจำเป็นต้องทำอย่างถูกต้องและเหมาะสม เนื่องจากเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่และมีคุณค่า แต่ด้วยความพิเศษของพระเจดีย์ที่เป็นเจดีย์ประกบด้วยหินอ่อน ทำให้ยังมีข้อมูลและองค์ความรู้ที่จำเป็นในการบูรณปฏิสังขรณ์ที่ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โดยที่ผ่านมาทางวัดไม่สามารถบูรณปฏิสังขรณ์อะไรได้มากนัก เนื่องจากเกรงว่าการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่นั้นจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างที่อาจทำให้พระเจดีย์ และปูชนียสถานใกล้เคียงเกิดความเสียหาย ดังนั้น ทางวัดจึงขอความอนุเคราะห์มาทางภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่งมีความสอดคล้องกับ “โครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม” จึงได้เป็นความร่วมมือกันระหว่างวัดกับทางมหาวิทยาลัย “โครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม” โดย มจธ. เป็นโครงการที่มีเป้าประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติและองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาฐานข้อมูลทางวิศวกรรมเพื่อการประเมินและติดตามสภาพโครงสร้างโบราณสถานของไทย “การบูรณะ โบราณสถานเพื่อรากฐานการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน” ที่ได้รับรางวัลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2561 ด้านสาธารณะ มาต่อยอดสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์วัดไทย -ค่าความโน้มเอียงของบริเวณจุดยอดพระเจดีย์ พระครูอุทิจยานุสาสน์ หัวหน้าสำนักงานโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กล่าวถึงที่มาของความร่วมมือกับทาง มจธ. ในครั้งนี้ว่า เนื่องจากได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ควบคุมดูแลการบูรณปฏิสังขรณ์อาคารสถานที่ต่างๆ ภายในพระอารามมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 จึงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่วัดมาโดยตลอด และเริ่มสังเกตได้ว่าพระเจดีย์ และพระวิหารหลวงเริ่มมีการทรุดตัว อีกทั้งเชื่อว่าปัญหาการทรุดตัวของพื้นที่ และความทรุดเอียงที่เกิดขึ้นกับตัวอาคารที่สำคัญของวัดนั้นไม่สามารถแก้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่จะต้องคิดหาวิธีการในการแก้ปัญหาเพื่อให้การบูรณปฏิสังขรณ์นั้นเป็นไปอย่างยั่งยืนที่สุด - รูปด้านทิศตะวันตกแสดงความโน้มเอียงของพระอุโบสถ ขณะนี้ สิ่งที่กังวลมากที่สุดคือ ความผิดพลาดบางประการที่หากเกิดขึ้นในระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์ อาจจะส่งผลทำให้พระเจดีย์และปูชนียสถานใกล้เคียงเสียหายได้ และเนื่องด้วยความพิเศษของ “ปาสาณเจดีย์” และพื้นไพทีที่มีลักษณะสูง…
Read More

เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มีนาคม 2564 ตัวแทนภาควิชาวิศวกรรมโยธา นำโดย ศ. ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์    รศ. ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา รศ. ดร.ทวิช พูลเงิน รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และคุณ อังคณารัตน์ กาญจนมณีนิล เจ้าหน้าที่ธุรการประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ คุณสมเกียรติ ศิลวัฒนาวงศ์ (CE23) ที่รับการแต่งตั้งเป็นนายกสมาคมนักศึกษาเก่าฯ วาระปี 2564-2567 ณ อาคารสัมมนา ชั้น 2 สมาคมนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในพระบรมราชูปถัมภ์
Read More

เมื่อวันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 บริษัท พี ทู อัพ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตรายการทางสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในนาม ETV ได้ขออนุญาตเข้าถ่ายทำรายการและสัมภาษณ์ นายอัครพันธ์ ทวีศักดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา หลักสูตรนานาชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเยาวชนที่มีความสามารถทางด้านสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมและมีผลงานดีเด่นอย่างต่อเนื่อง โดยทีมงานจาก ETV ได้เก็บภาพบรรยายกาศ กิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ห้อง CIA  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา และสัมภาษณ์นักศึกษาในการเลือกเรียนหลักสูตรวิศวกรรมโยธา และการแบ่งเวลาเรียน และการทำกิจกรรมต่างๆ
Read More

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา หลักสูตรนานาชาติ ได้เข้าร่วมศึกษาดูงาน ณ  AP ACADEMY LAB เป็นจำนวน 81 คน โดยมี ผศ.ดร.รักติพงษ์ สหมิตรมงคล เป็นผู้ควบคุมดูแล ในภาคเช้าได้รับเกียรติจากทีม AP ACADEMY LAB บรรยายเกี่ยวกับ Project Life Cycle และ ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม งานระบบ และ งานโครงสร้าง ในภาคบ่ายเดินทางไปยังโครงการ The City พระราม2-พุทธบูชา ได้รับเกียรติจากผู้จัดการโครงการแนะนำโครงการทั้งหมด แยกออกได้เป็น งานเสาเข็ม งานฐานราก งานระบบใต้พื้นชั้น1(ประปา,สุขาภิบาล,ท่อกำจัดปลวก) งานโครงสร้าง(เสา,คาน,พื้น) งานผนังก่ออิฐ รวมไปถึงได้เข้าเยี่ยมชมบ้านตัวอย่างรูปแบบต่างๆ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในสโมสรส่วนกลาง นอกจากนี้ยังได้คำแนะนำแนวทางในการเรียนและการทำงานรวมถึงความมั่นคงในอาชีพการงานอีกด้วย ทั้งนี้การศึกษาดูงาน ณ AP ACADEMY LAB ทำให้นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มเติมอย่างมากและสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนและการทำงานในอนาคตให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
Read More

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรปกติ) เข้าร่วมการศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ฝึกอบรม Thai Obayashi จังหวัดชลบุรี เป็นจำนวน 45 คน โดยมี ผศ.ดร.รักติพงษ์ สหมิตรมงคล เป็นผู้ควบคุมดูแล ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมงาน CPAC Post tension ที่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบพื้นคอนกรีตอัดแรงนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆมากมายที่นักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรม อาทิ ขั้นตอนการติดตั้งแนวเหล็กเสริมอัดแรง การดึงเส้นลวดด้วยชุดอุปกรณ์และยังได้เข้าร่วมการอบรมงานติดตั้งและควบคุมงานโครงหลังคา โดยวิศวกรมืออาชีพจาก Thai Obayashi นอกจากนี้ยังได้แนะนำแนวทางในการทำงานรวมถึงความก้าวหน้าในอาชีพการงาน กิจกรรมดังกล่าวนอกจากจะทำให้นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มเติมอย่างมากแล้วยังทำให้นักศึกษาได้เห็นภาพการทำงานมากยิ่งขึ้น
Read More

ภาควิชาโยธาจัดค่ายวิศวกรโยธารุ่นเยาว์ “Civil Camp” ภายใต้เครือข่ายของโครงการ 2B-KMUTT ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 15 โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ปีที่   5 - 6 สายวิทยาศาสตร์ ได้เข้ามาร่วมกันทำกิจกรรมกับคณาจารย์และรุ่นพี่นักศึกษาปัจจุบันของภาควิชา ฯ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนเหล่านี้ได้เข้ามาสัมผัสกับวิถีชีวิตด้านวิศวกรโยธา ได้รู้แนวทางในการทำงานรวมถึงความก้าวหน้าในอาชีพการงาน กิจกรรมดังกล่าวนอกจากจะทำให้นักเรียนเหล่านี้ได้รับความรู้เพิ่มเติมอย่างมากแล้ว ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จะใช้ในการคัดเลือกนักศึกษาโดยให้สมัครตรงที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธาด้วย ซึ่งในปีนี้มีความพิเศษก็คือ เป็นค่ายในรูปแบบออนไลน์ โดยที่น้องๆจะได้ชุด Kit นำไปทดลองที่บ้าน และมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ  Concrete Chef, Mini Landslide, Bridge Engineer, Surveying Engineer at home กิจกรรมครั้งนี้ มีน้องๆนักเรียนจำนวน 40 คน ที่ได้รับสิทธ์เข้าร่วมโครงการฯ ในครั้งนี้ โดยมีกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 16-23 พฤศจิกายน 2563
Read More