Browsing: ความสำเร็จ

พิชญุตม์ แสงอุทัย นักศึกษาเก่าภาควิชาวิศวกรรมโยธา ปีที่เข้าเรียน 2552 มจธ.รุ่นที่ 50 วิศวกรรมโยธา 6 ฝ่ายบริหารโครงการ การไฟฟ้านครหลวง
Read More

โครงการวิศวกรอาสา มูลนิธิเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ขอนำเสนอวิดีโอองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมในหัวข้อ "EP.11 เทคนิคการบริหารโครงการด้วยวิธี PDCA" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพจิตร ผาวัน เป็นอาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Construction Management, Project Supervision and Inspection, Quantitative Survey ปัจจุบัน อาจารย์ไพจิตร ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาเมือง สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วุฒิการศึกษา : ปริญญาเอก : ปร.ด (สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี​​ ปริญญาโท : วศ.ม. (วิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปริญญาตรี : อส.บ. วิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Read More

 อิฐทุกก้อนของโบราณสถาน ล้วนมีคุณสมบัติไม่เหมือนกับวัสดุที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน นอกจากการบูรณะซ่อมแซมให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม ยังต้องแม่นยำตามหลักศิลปศาสตร์และประวัติศาสตร์ด้วย นี่จึงเป็นภารกิจสำคัญที่เราควรมี “ฐานข้อมูลดิจิทัล” ที่รวบรวมโครงสร้างโบราณสถานไทย เพื่อการอนุรักษ์และต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมใหม่จากมรดกของเรา ยิ่งศึกษาเรื่องโบราณมากแค่ไหน เราต้องยิ่งไฮเทคมากขึ้นเท่านั้น โครงการพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ รศ.ดร.ชัยณรงค์ อธิสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Read More

[Global Engineer] พี่เพิร์ธ ณดาปนีย์ แชร์ประสบการเรียนต่อต่างประเทศการทำงานในต่างประเทศ สวัสดีค่ะชื่อ เพิร์ธ ณดาปนีย์ อนุพันธนันท์ CE 51 (ITCE11) ค่ะ อยากมาแชร์ประสบการณ์ให้ฟังเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกเรียนสาย civil และต่อสาย renewable energy ค่ะ 1. ส่วนตัวเลยคิดว่าการเลือกเรียนปริญญาตรีคณะไหนก็ตามไม่ใช่ end of the world ทุกๆความคิดการตัดสินใจมักจะมีโอกาสของการผิดพลาดและสำเร็จเสมอ แต่ที่ตัดสินใจเลือกโยธา อินเตอร์บางมด เพราะมองเห็นโอกาสทั้งทางด้านภาษา การเปิดกว้างทางความคิดที่สังเหตุได้จากข้อมูลที่คณะให้มา และตัวเนื้อวิชาของคณะ ที่เมื่อศึกษาจริงจังแล้ว เราสามารถต่อยอดไปได้หลายทาง ไม่จำกัดเราอยู่แค่สายเดียวเท่านั้น ก็เลยตัดสินใจเลือกและก็ทำให้ได้ค้นพบตัวเอง ว่าตัวเราเองสนใจจะต่อยอดไปทางสาย renewable energy ระหว่างทางที่เรียนค่ะ 2. หลังจากเรียนจบ เราได้offer ไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ ตอนประมาณปี 4 เทอม1 คณะ offshore and ocean technology with offshore renewable energy at Cranfield University จริงๆตอนที่ได้ ดีใจมาก เพราะว่า เราส่งใบสมัครไปคณะเดียว และเป็นคณะที่ศึกษาเยอะมากสุด และอ่านคอร์สแล้วอยากเรียนที่สุด เพราะคิดว่าต้องสนุกแน่ๆ…
Read More

พี่โต้ง กำชัย ชูศรีทอง วิศวกรรมโยธา นานาชาติ รุ่น 10 แชร์ ประสบการ การทำงานเป็น Project Engineer ก่อสร้าง อุโมงค์ ใน Austria สำหรับวิศวกรโยธา วิศวกรเทคนิคธรณี วิศวกรอุโมงค์(Geotechnical/Tunnel) เยอรมัน ออสเตรีย สวิสเซอแลนด์ (DACH) คือกลุ่มประเทศworld leading ในเทคโนโลยี และการก่อสร้างทางด้านนี้ ส่วนตัวผมเองจบ ป ตรี/โท ที่ไทย และมาเรียน ป เอกที่ออสเตรีย และตอนนี้ทำงานเป็น Project Engineer ที่ Salzburg, Austria ออกแบบและวางแผนงานก่อสร้างอุโมงค์รถยนต์ รถไฟและงานโครงสร้างใต้ดินทั่วๆไป ผมจะลองเขียนคร่าวๆจากประสบการณ์ด้านวิศวกรรมโยธา ถ้าใครสนใจก็สอบถามรายละเอียดมากกว่านี้ได้ หรือไว้จะมาเขียนเพิ่มทีหลัง 1. การทำงานแบบออสเตรียนสไตล์คือจริงจังและintenseมาก ยอมรับเลยว่าค่อนข้างจะเครียด และงานต้องproductive, high quality ข้อผิดพลาดเป็นศูนย์ skill set ของเราต้องค่อนข้างจะต้องออกไปแนว multi-tasking สิ่งที่เราเรียนมาก็เป็นบางส่วนที่แค่specialist ในด้านนั้นๆเพื่อจะได้แก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจงลงไป สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการสื่อสาร ฟัง พูด อ่าน เขียน (soft skill)…
Read More

หลายคนอาจจะเคยสงสัย หรือตั้งคำถามสำหรับวิศวกรโยธา ตำแหน่ง Site Engineer ในวันหนึ่งพวกเขาต้องทำอะไรบ้าง วีดิโอจะบอกเล่าหน้าที่ของ Site Engineer ให้ทุกคนได้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งถ้าหากดูคลิปวีดิโอนี้จบ น้องบางคนอาจจะมีความคิดที่แน่วแน่มากขึ้นสำหรับการเข้าศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ก็เป็นได้ หมายเหตุ : การแสดงความคิดเห็นในคลิปวีดิโอเป็นความคิดเห็นส่วนตัว
Read More

ธรรมชาติของสิ่งปลูกสร้าง อาคารบ้านเรือน หรือแม้กระทั่งโบราณสถานเก่าแก่ เมื่อกาลเวลาผ่านไปย่อมมีความชำรุดทรุดโทรมลง หากไม่ได้รับการซ่อมบำรุงที่เหมาะสมอาจจะทำให้เกิดความเสียหายตามมา ในประเทศไทยนั้นมีโบราณสถานที่เป็นปูชนียสถาน ที่มีความสวยงามและทรงคุณค่า ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อคนรุ่นหลังอยู่มากมาย เช่นเดียวกับ "ปาสาณเจดีย์" พระเจดีย์ประกบหินอ่อน ของวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามโบราณราชประเพณี เมื่อปีพุทธศักราช 2407 และเป็นวัดประจำรัชกาล ปาสาณเจดีย์นั้น เป็นพระเจดีย์มีอายุกว่า 100 ปีแล้ว เป็นที่แน่นอนว่าอาจจะต้องมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์บางส่วนในอนาคต เนื่องจากความเก่าแก่ของพระเจดีย์ผนวกกับมีการตรวจพบว่าพื้นที่บริเวณวัดเริ่มมีการทรุดตัว แต่การที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ได้นั้นจำเป็นต้องทำอย่างถูกต้องและเหมาะสม เนื่องจากเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่และมีคุณค่า แต่ด้วยความพิเศษของพระเจดีย์ที่เป็นเจดีย์ประกบด้วยหินอ่อน ทำให้ยังมีข้อมูลและองค์ความรู้ที่จำเป็นในการบูรณปฏิสังขรณ์ที่ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โดยที่ผ่านมาทางวัดไม่สามารถบูรณปฏิสังขรณ์อะไรได้มากนัก เนื่องจากเกรงว่าการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่นั้นจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างที่อาจทำให้พระเจดีย์ และปูชนียสถานใกล้เคียงเกิดความเสียหาย ดังนั้น ทางวัดจึงขอความอนุเคราะห์มาทางภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่งมีความสอดคล้องกับ “โครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม” จึงได้เป็นความร่วมมือกันระหว่างวัดกับทางมหาวิทยาลัย “โครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม” โดย มจธ. เป็นโครงการที่มีเป้าประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติและองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาฐานข้อมูลทางวิศวกรรมเพื่อการประเมินและติดตามสภาพโครงสร้างโบราณสถานของไทย “การบูรณะ โบราณสถานเพื่อรากฐานการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน” ที่ได้รับรางวัลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2561 ด้านสาธารณะ มาต่อยอดสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์วัดไทย -ค่าความโน้มเอียงของบริเวณจุดยอดพระเจดีย์ พระครูอุทิจยานุสาสน์ หัวหน้าสำนักงานโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กล่าวถึงที่มาของความร่วมมือกับทาง มจธ. ในครั้งนี้ว่า เนื่องจากได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ควบคุมดูแลการบูรณปฏิสังขรณ์อาคารสถานที่ต่างๆ ภายในพระอารามมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 จึงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่วัดมาโดยตลอด และเริ่มสังเกตได้ว่าพระเจดีย์ และพระวิหารหลวงเริ่มมีการทรุดตัว อีกทั้งเชื่อว่าปัญหาการทรุดตัวของพื้นที่ และความทรุดเอียงที่เกิดขึ้นกับตัวอาคารที่สำคัญของวัดนั้นไม่สามารถแก้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่จะต้องคิดหาวิธีการในการแก้ปัญหาเพื่อให้การบูรณปฏิสังขรณ์นั้นเป็นไปอย่างยั่งยืนที่สุด - รูปด้านทิศตะวันตกแสดงความโน้มเอียงของพระอุโบสถ ขณะนี้ สิ่งที่กังวลมากที่สุดคือ ความผิดพลาดบางประการที่หากเกิดขึ้นในระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์ อาจจะส่งผลทำให้พระเจดีย์และปูชนียสถานใกล้เคียงเสียหายได้ และเนื่องด้วยความพิเศษของ “ปาสาณเจดีย์” และพื้นไพทีที่มีลักษณะสูง…
Read More

เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มีนาคม 2564 ตัวแทนภาควิชาวิศวกรรมโยธา นำโดย ศ. ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์    รศ. ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา รศ. ดร.ทวิช พูลเงิน รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และคุณ อังคณารัตน์ กาญจนมณีนิล เจ้าหน้าที่ธุรการประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ คุณสมเกียรติ ศิลวัฒนาวงศ์ (CE23) ที่รับการแต่งตั้งเป็นนายกสมาคมนักศึกษาเก่าฯ วาระปี 2564-2567 ณ อาคารสัมมนา ชั้น 2 สมาคมนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในพระบรมราชูปถัมภ์
Read More